Wednesday, 29 May 2013
สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการฝึกงาน
สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการฝึกงาน
การฝึกงานคืออะไร
การฝึกงาน(Practical Training) การฝึกงานเป็นการเสริมทักษะและประสบการณ์ให้เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานทั้งในระหว่างการศึกษาและภายหลังการศึกษา โดยนักศึกษาจะได้นำความรู้จากภาคทฤษฏีไปสู่การฝึกการปฏิบัติในระยะเวลาที่กำหนด ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จะช่วยให้นักศึกษาเห็นภาพที่แท้จริงในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจความต้องการที่แท้จริงในการทำงานทั้งจากตนเองและบริษัทที่เป้นนายจ้าง
ความสำคัญของการฝึกงาน มีความตระหนักถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อตนเอง สาขาวิชาชีพและสถาบันฯ เพิ่มทักษะความรู้ที่จำเป็นก่อนการทำงานจริง เมื่อสำเร็จการศึกษา ฝึกระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่และสามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ฝึกงานร่วมกับผู้อื่น และสังคมการทำงาน การเตรียมความพร้อมก่อนฝึกงาน ทำความรู้กับสถานที่ฝึกงาน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ฝึกงาน ประวัติ ลักษณะงาน การเดินทางไป-กลับ สถานที่พักอาศัยระหว่างฝึกงานและการแจ้งให้ทางบ้านทราบการฝึกงาน ตรวจสอบวัน เวลา และสถานที่ในการรายงานตัว การแต่งกาย ตรวจสอบรายละเอียดของการรายงานตัวล่วงหน้า
เอกสารที่จำเป็นในการฝึกงาน ควรแต่งกายให้สุภาพและเรียบร้อย ตามเครื่องแบบของสถาบัน ปฏิบัติตามระเบียบ กฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทหรือองค์กร ศึกษาหรือสอบถาม กฎระเบียบของสถานทีฝึกงานให้ชัดเจน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มีความตรงต่อเวลา ควรเดินทางไปล่วงหน้าอย่างน้อย 15-30 นาที และไม่กลับก่อนงานเลิก มีความซื่อสัตย์และความตั้งใจในการฝึกงาน มีสัมมาคารวะ นักศึกษาต้องปฏิบัติตนให้ดี รักษาชื่อเสียงสถาบัน และมีสัมมาคาระแก่บุคลากรในสถายที่ฝึกงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง ศึกษางานในหน้าที่และความรับผิดชอบ
ศึกษารายละเอียดที่อธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบ สภาพการทำงาน ลักษณะของงานที่สำคัญ (job description) เตรียมความพร้อมเพื่อทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมงานในหน้าที่ ควรปฏิบัติตัวให้เหมาะสม มีความสุภาพ ไม่ถือตัว อ่อนน้อม ถ่อมตน ติดต่อผู้ดูแลการฝึกงานในสถานที่ฝึกงาน
นักศึกษาควรทำความรู้จัก ผู้ดูแลเกี่ยวกับการฝึกงานและการประพฤติตัวให้เหมาะสม สามารถสอบถามปัญหาต่างๆได้โดยไม่ต้องลังเล การปฏิบัติตนในระหว่างฝึกงาน 1. ตรงต่อเวลา และการเคารพผู้บังคับบัญชา 2. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ตั้งใจเรียนรู้งานให้มากที่สุด 3. แต่งกายชุดนักศึกษา กรณีใส่เสื้อช็อปต้องผ่านความเห็นชอบจากบริษัทก่อน 4.
การลากิจ ลาป่วย ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของ สถานที่ฝึกงาน 5. ระมัดระวังในเรื่องการวางตัวและการใช้เครื่องมือสื่อสาร 6. ไม่ควรต่อรองเรื่องระยะเวลาการฝึกงานหรือ เรียกร้องอภิสิทธิ์ใด ๆ จากสถานที่ฝึกงาน 7. นักศึกษาควรมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออกและกล้าตัดสินใจ 8. ให้ถือเสมือนว่า การฝึกงานก็คือการทำงาน และทำการ ฝึกงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ 9. การไปฝึกงานของนักศึกษา ถือว่าไปในนามตัวแทนของมหาวิทยาลัยและในนามของคณะฯ ต้องไม่กระทำการ ใด ๆ ที่จะทำให้เสื่อมเสียต่อส่วนรวม 10.
ในระหว่างการฝึกงาน หากมีปัญหาเกี่ยวกับงานต้องการคำปรึกษาเชิงวิชาการ นักศึกษาควรติดต่อกลับมายังอาจารย์ประจำสาขาวิชา 11. หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างการฝึกงานให้ติดต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาหรือสถาบัน 12. หลีกเลี่ยงการทะเลาวิวาทกับเพื่อนร่วมงาน หรือความสัมพันธ์ชู้สาวกับเพื่อนร่วมงาน/บุคลากรภายในสถานที่ฝึกงาน อันก่อให้เกิดปัญหารุนแรง 13.การดูแลทรัพยสินของตนเอง บริษัท และควรใช้ความระมัดระวังในการใช้งานทรัพย์สินบริษัท 14.หลีกเลี่ยงการขาดงานโดยไม่จำเป็น
นอกจากจะทำให้เกิดภาพลบต่อนักศึกษายังรวมทั้งชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย 15.ควรดูแลความปลอดภัยของตนเอง หากมีเพื่อนควรเดินทางไป-กลับเป็นหมู่คณะ หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยลำพังโดยเฉพาะนักศึกษาหญิง กำหนดระยะเวลาในการฝึกงาน ห้ามหยุดการปฏิบัติฝึกงานเอง โดยไม่แจ้งสาขาวิชา หรือขาดความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและไม่สามารถอ้างเหตุว่าฝึกงานครบกำหนดแล้ว เนื่องจากเป็นการกำหนดจำนวนชั่วโมงขั้นต่ำ
ในกรณีนี้นักศึกษาควรแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาฝึกงานตามสาขาวิชาของตนเอง เอกสารประกอบการฝึกงาน จดหมายยืนยันการฝึกงานและส่งตัวนักศึกษาเข้าฝึกงาน 1 ฉบับ จดหมายตอบรับให้เข้าฝึกงาน 1 ฉบับ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ 1 ฉบับ สมุดบันทึกการฝึกงาน 1 ฉบับ ใบประเมินผลการฝึกงาน 1 ฉบับ (ยื่นให้แก่ผู้ดูแลการฝึกงาน วันรายงานตัว) สมุดบันทึกลงเวลาปฏิบัติงาน 1ฉบับ (สถานที่ฝึกงาน) การนิเทศฝึกงานนักศึกษา ภายหลังจากที่นักศึกษาได้เข้าสู่สถานที่ฝึกงานและได้รับการยืนยันเรียบร้อยแล้ว
คณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบฝึกงานนักศึกษาจะทำการออกนิเทศตามสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อการเตรียมพร้อมของบุคลากรและผู้ดูแลการฝึกงานรวมทั้งตัวนักศึกษาเอง เพื่อประเมิน ลักษณะของสถานที่ฝึกงานและความเหมาะสมในการฝึกงานตามที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย พร้อมรวบรวมข้อมูลการประเมินความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษา/ผู้ปฏิบัติงาน การประเมินผลการฝึกงาน
จะมีการประเมินผล โดยหัวหน้าหน่วยงานของสถานประกอบการ ที่รับนักศึกษาเข้าฝึกงานตาม แบบประเมินผลการฝึกงาน สำหรับสถานที่ฝึกงาน (อยู่ท้ายเล่มของสมุดบันทึกการฝึกงาน) เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการฝึกงานครบถ้วนทุกขั้นตอน ซึ่งผลการประเมินจะปรากฏเป็นเกรด G (ดี) P (พอใช้) หรือ U (ตก) ซึ่งนักศึกษาที่ผ่านการฝึกงานจะต้องได้รับการประเมินผลเป็น G หรือ P จึงจะถือว่าสอบผ่านการฝึกงาน
From Link: http://www.dekwtt.com/book/export/html/221
การฝึกงานคืออะไร
การฝึกงาน(Practical Training) การฝึกงานเป็นการเสริมทักษะและประสบการณ์ให้เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานทั้งในระหว่างการศึกษาและภายหลังการศึกษา โดยนักศึกษาจะได้นำความรู้จากภาคทฤษฏีไปสู่การฝึกการปฏิบัติในระยะเวลาที่กำหนด ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จะช่วยให้นักศึกษาเห็นภาพที่แท้จริงในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจความต้องการที่แท้จริงในการทำงานทั้งจากตนเองและบริษัทที่เป้นนายจ้าง
ความสำคัญของการฝึกงาน มีความตระหนักถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อตนเอง สาขาวิชาชีพและสถาบันฯ เพิ่มทักษะความรู้ที่จำเป็นก่อนการทำงานจริง เมื่อสำเร็จการศึกษา ฝึกระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่และสามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ฝึกงานร่วมกับผู้อื่น และสังคมการทำงาน การเตรียมความพร้อมก่อนฝึกงาน ทำความรู้กับสถานที่ฝึกงาน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ฝึกงาน ประวัติ ลักษณะงาน การเดินทางไป-กลับ สถานที่พักอาศัยระหว่างฝึกงานและการแจ้งให้ทางบ้านทราบการฝึกงาน ตรวจสอบวัน เวลา และสถานที่ในการรายงานตัว การแต่งกาย ตรวจสอบรายละเอียดของการรายงานตัวล่วงหน้า
เอกสารที่จำเป็นในการฝึกงาน ควรแต่งกายให้สุภาพและเรียบร้อย ตามเครื่องแบบของสถาบัน ปฏิบัติตามระเบียบ กฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทหรือองค์กร ศึกษาหรือสอบถาม กฎระเบียบของสถานทีฝึกงานให้ชัดเจน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มีความตรงต่อเวลา ควรเดินทางไปล่วงหน้าอย่างน้อย 15-30 นาที และไม่กลับก่อนงานเลิก มีความซื่อสัตย์และความตั้งใจในการฝึกงาน มีสัมมาคารวะ นักศึกษาต้องปฏิบัติตนให้ดี รักษาชื่อเสียงสถาบัน และมีสัมมาคาระแก่บุคลากรในสถายที่ฝึกงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง ศึกษางานในหน้าที่และความรับผิดชอบ
ศึกษารายละเอียดที่อธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบ สภาพการทำงาน ลักษณะของงานที่สำคัญ (job description) เตรียมความพร้อมเพื่อทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมงานในหน้าที่ ควรปฏิบัติตัวให้เหมาะสม มีความสุภาพ ไม่ถือตัว อ่อนน้อม ถ่อมตน ติดต่อผู้ดูแลการฝึกงานในสถานที่ฝึกงาน
นักศึกษาควรทำความรู้จัก ผู้ดูแลเกี่ยวกับการฝึกงานและการประพฤติตัวให้เหมาะสม สามารถสอบถามปัญหาต่างๆได้โดยไม่ต้องลังเล การปฏิบัติตนในระหว่างฝึกงาน 1. ตรงต่อเวลา และการเคารพผู้บังคับบัญชา 2. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ตั้งใจเรียนรู้งานให้มากที่สุด 3. แต่งกายชุดนักศึกษา กรณีใส่เสื้อช็อปต้องผ่านความเห็นชอบจากบริษัทก่อน 4.
การลากิจ ลาป่วย ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของ สถานที่ฝึกงาน 5. ระมัดระวังในเรื่องการวางตัวและการใช้เครื่องมือสื่อสาร 6. ไม่ควรต่อรองเรื่องระยะเวลาการฝึกงานหรือ เรียกร้องอภิสิทธิ์ใด ๆ จากสถานที่ฝึกงาน 7. นักศึกษาควรมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออกและกล้าตัดสินใจ 8. ให้ถือเสมือนว่า การฝึกงานก็คือการทำงาน และทำการ ฝึกงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ 9. การไปฝึกงานของนักศึกษา ถือว่าไปในนามตัวแทนของมหาวิทยาลัยและในนามของคณะฯ ต้องไม่กระทำการ ใด ๆ ที่จะทำให้เสื่อมเสียต่อส่วนรวม 10.
ในระหว่างการฝึกงาน หากมีปัญหาเกี่ยวกับงานต้องการคำปรึกษาเชิงวิชาการ นักศึกษาควรติดต่อกลับมายังอาจารย์ประจำสาขาวิชา 11. หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างการฝึกงานให้ติดต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาหรือสถาบัน 12. หลีกเลี่ยงการทะเลาวิวาทกับเพื่อนร่วมงาน หรือความสัมพันธ์ชู้สาวกับเพื่อนร่วมงาน/บุคลากรภายในสถานที่ฝึกงาน อันก่อให้เกิดปัญหารุนแรง 13.การดูแลทรัพยสินของตนเอง บริษัท และควรใช้ความระมัดระวังในการใช้งานทรัพย์สินบริษัท 14.หลีกเลี่ยงการขาดงานโดยไม่จำเป็น
นอกจากจะทำให้เกิดภาพลบต่อนักศึกษายังรวมทั้งชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย 15.ควรดูแลความปลอดภัยของตนเอง หากมีเพื่อนควรเดินทางไป-กลับเป็นหมู่คณะ หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยลำพังโดยเฉพาะนักศึกษาหญิง กำหนดระยะเวลาในการฝึกงาน ห้ามหยุดการปฏิบัติฝึกงานเอง โดยไม่แจ้งสาขาวิชา หรือขาดความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและไม่สามารถอ้างเหตุว่าฝึกงานครบกำหนดแล้ว เนื่องจากเป็นการกำหนดจำนวนชั่วโมงขั้นต่ำ
ในกรณีนี้นักศึกษาควรแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาฝึกงานตามสาขาวิชาของตนเอง เอกสารประกอบการฝึกงาน จดหมายยืนยันการฝึกงานและส่งตัวนักศึกษาเข้าฝึกงาน 1 ฉบับ จดหมายตอบรับให้เข้าฝึกงาน 1 ฉบับ กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ 1 ฉบับ สมุดบันทึกการฝึกงาน 1 ฉบับ ใบประเมินผลการฝึกงาน 1 ฉบับ (ยื่นให้แก่ผู้ดูแลการฝึกงาน วันรายงานตัว) สมุดบันทึกลงเวลาปฏิบัติงาน 1ฉบับ (สถานที่ฝึกงาน) การนิเทศฝึกงานนักศึกษา ภายหลังจากที่นักศึกษาได้เข้าสู่สถานที่ฝึกงานและได้รับการยืนยันเรียบร้อยแล้ว
คณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบฝึกงานนักศึกษาจะทำการออกนิเทศตามสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อการเตรียมพร้อมของบุคลากรและผู้ดูแลการฝึกงานรวมทั้งตัวนักศึกษาเอง เพื่อประเมิน ลักษณะของสถานที่ฝึกงานและความเหมาะสมในการฝึกงานตามที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย พร้อมรวบรวมข้อมูลการประเมินความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษา/ผู้ปฏิบัติงาน การประเมินผลการฝึกงาน
จะมีการประเมินผล โดยหัวหน้าหน่วยงานของสถานประกอบการ ที่รับนักศึกษาเข้าฝึกงานตาม แบบประเมินผลการฝึกงาน สำหรับสถานที่ฝึกงาน (อยู่ท้ายเล่มของสมุดบันทึกการฝึกงาน) เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการฝึกงานครบถ้วนทุกขั้นตอน ซึ่งผลการประเมินจะปรากฏเป็นเกรด G (ดี) P (พอใช้) หรือ U (ตก) ซึ่งนักศึกษาที่ผ่านการฝึกงานจะต้องได้รับการประเมินผลเป็น G หรือ P จึงจะถือว่าสอบผ่านการฝึกงาน
From Link: http://www.dekwtt.com/book/export/html/221
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment